องค์กรจะทำ “กลยุทธ์ ” อย่างไรให้แตกต่างและได้ผลในโลกยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง ผันแปรสูง?
วิธีการมองหาแนวโน้มในอนาคตและ New S-Curve อะไรคือ “กับดัก” หรือหลุมพรางในการคิดกลยุทธ์ให้สำเร็จตามความคาดหวัง?
ร.ท.เฉลิมกิจ โรจนวิภาต ที่ปรึกษาอาวุโสกลุ่ม “แพคริม” อดีตผู้บริหารองค์กรชั้นนำ เช่น ธนาคารกสิกรไทย เอสโซ่ เอฟ.อี. ซิลลิค บริสตอล ไมเยอร์ส สควิบป์ ฯลฯ ตอบคำถามเหล่านี้ในงานสัมมนาสดออนไลน์ “Strategic Thinking to Survive in a Complex World” ที่จัดขึ้นเป็นพิเศษสำหรับลูกค้าแพคริมและผู้บริหารองค์กรและฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่ได้รับเชิญเมื่อ 2 พ.ย.2566
เนื้อหาต่อไปนี้เป็นการสรุป 10 ข้อคิดการทำ “กลยุทธ์” ด้วยกระบวนการของ Decision Processes International (DPI) จากส่วนหนึ่งของงานสัมมนาข้างต้น
1. Strategy = “Knowing where you are today, Where u want to be in the future, and How to get there.
2. การมีกระบวนการที่ทุกคนรู้เรื่องและเข้าใจใช้ร่วมกัน จะเป็นเครื่องมือที่ดีมาก เพราะว่าถ้าโลกยิ่งเปลี่ยนเร็วและแรงมากเท่าไร ยุคของการคิดคนเดียว แล้วค่อยมาอธิบายให้ฟัง ค่อยไปทดลองทำดู มันไม่ทันการณ์ เราต้องมีทุกคนที่เกี่ยวข้องที่สามารถร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมเข้าใจ จะได้ทันตอบสนอง หรือดักหน้าการเปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้น
3. Knowing where you are today
- สิ่งแรกที่ควรทำคือการทำความรู้จักกับตัวเอง (Current Profile) ว่าเราเป็นใคร ขายอะไร ขายให้ใคร (แม้แต่ภาครัฐก็ต้องขายนโยบาย มาตรการ ความคิด ฯลฯ)
- ปัจจุบันมีใครบ้างที่เป็นผู้อยู่ในสนามแข่งนี้กับเรา
- แล้วในอีก 2-3 ปีหน้า ภาพโดยรวมจะมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างอย่างมีนัยยะ
- แล้วกลับมาดูตัวเองอย่างลึกซึ้งอีกครั้งว่า เรามีจุดอ่อนจุดแข็ง และจะไปจับฉวยโอกาสยังไง
4.Where you want to be in the future
- Options: เรามีทางเลือกอะไรบ้างที่จะไปให้ถึง และใช้โอกาสจากตัวแปรต่าง ๆ อย่างไร (Tentative Strategic Profiles)
- ต้องขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยอะไร (Potential Driving Forces)
5.การมองหา New S-curve
ถ้าเราอยากจะเติบโตอย่างยั่งยืน เรามีทางเลือกที่จะมองหา S-curve ที่ตรงไหนบ้าง มันต้องมีสินค้าอะไรใหม่ที่เราจะต้องนำเข้ามา เราจะมุ่งเน้นที่นวัตกรรมสินค้า นวัตกรรมบริการ หรือนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ
6. Sandbox = สนามที่เราเลือกที่จะแข่ง
- ใครคือผู้คุมเกมในสนามนี้ (Controllers)
- ใครคือผู้มีอิทธิพล (Influencers)
เมื่อเรามองกว้างและครบ เราจะเริ่มเห็นกลุ่มผู้เล่นที่มีอิทธิพล
7. การหา “White Space” หรือ Niche Space
8. การมองออกไปในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง (Adjacent industry)
- เลือกส่วนที่จะเข้าไปเล่น เช่น Upstream หรือ Downstream
- มองหลาย ๆ แหล่งรายได้
9. Future Business Arena
- เรามองเห็นแนวโน้มอะไรไหม
- ผลกระทบอะไรจะเกิดขึ้น
- อย่ารีบกระโดดไปที่คำตอบหรือทางออก เพราะมันจะไปจำกัดทางเลือก
พยายาม Define ผลกระทบให้ชัดเจนก่อน จะทำให้เราหาโอกาสได้เจอ
10. กับดัก
การมองเทรนด์ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะมันมักจะมี “Known Parameters” อยู่แล้ว แต่เราทำอะไรกับมันได้บ้าง แล้วลุกขึ้นมาทำหรือเปล่าต่างหาก ที่จะเป็นตัวแปรที่ทำให้เราอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว และสามารถเติบโตได้
ต้องการรับคำปรึกษาจากแพคริมในการวางแผนจัดทำ “กลยุทธ์ ” หรือสร้างระบบความคิดเชิงกลยุทธ์ให้กับทีมในองค์กร ด้วยกระบวนการที่เป็น Process-driven ที่ทีมงานทุกคนสามารถเรียนรู้ เข้าใจและนำไปปฏิบัติร่วมกันได้โดยง่ายแบบกระบวนการที่ “Pure & Simple” ของ Decision Processes International โทร. 063-273-0297, 081-934-7848
ทั้งนี้รูปแบบการอบรมประกอบด้วย
- เวิร์กชอป 0.5 วัน เพื่อเจาะลึกการทำ Future Business Arena หา New S-Curve ให้กับองค์กร (สามารถจัดร่วมกับการทำ Executives Retreat สิ้นปี หรือต้นปีขององค์กร)
- เวิร์กชอป 2 วัน เพื่อรับถ่ายทอด Know How ในกระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์และฝึกทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์ให้ทีมงานสามารถมองเห็นภาพใหญ่และกว้าง
- ให้แพคริมเข้าไปช่วยจัดทำแผนกลยุทธ์องค์กร
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร Strategic Thinking (Pure & Simple) https://www.pacrimgroup.com/product/strategic-thinking-puresimple/
#strategicthinking #strategy #การทำกลุยทธ์ #แพคริม #pacrim #dpi #s-curve #แผนกลยุทธ์ #decisionprocessesinternational